วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Matterport's 3D scans you can 'step' into



NEW YORK (CNNMoney) -- Matt Bell isn't a big videogame player, but when Microsoft's motion-sensing gaming system Kinect came out in late 2010, a light bulb went off.
Bell envisioned using the Kinect's underlying technology for other things, like reconstructing the world in 3D. "I wanted to be able to scan a room, digitally send that to someone else and let them walk around in it on a computer screen," he says.
Creating a 3D scan of a physical environment is typically done with a laser scanner -- a process that's labor-intensive and slow, according to Sam Pfeifle, executive editor at the SPAR Point Group, a trade publisher for 3D imaging professionals. It's also expensive.
"A high-end laser scanner costs about $40,000," Pfeifle says. "The Kinect is basically a $150 version of that."
Bell dove in and started Matterport in Mountain View, Calif. with longtime friend and programmer David Gausebeck. Eight months later, they added Mike Beebe, who worked on 3D reconstruction for the military at Stanford Research Institute.
The partners created a handheld scanner that looked like a cross between a camera and a Kinect sensor. It worked well for scanning objects, but wasn't very efficient for interior spaces. Cue the redesign.
The latest model has a head that fully encloses two cameras sitting atop a tripod. An iPad functions as the remote. The device's innards use the same PrimeSense hardware, repacked by Asus in its Xtion motion-sensing system, that Microsoft uses for the Kinect.
Hit "scan" and the head starts turning 360 degrees, while the Matterport's iPad screen shows the model being built up in 3D. After it's finished, an email goes out with a link to the scan on a private site for clients. The owner can view it, share it, take measurements or make notes on it.
"We want people to be able to communicate in 3D," says Florence Shaffer, Matterport's director of strategic partnerships.
One of the company's first scans was of elite tech incubator Y Combinator's 3,500-square foot office space in Silicon Valley. (Matterport was selected for Y Combinator's first 2012 mentoring class, which ran from January to March.) It takes about 45 minutes to scan a space that size.
To understand how the scanner works, think of each captured image as a jigsaw puzzle piece. The scanner's cameras produce individual 3D snapshots, which the software fits together. Aligning all those images is a complex process. It took Matterport's founders about six months to develop a prototype that worked. Then they spent a year talking to customers to refine their device and make it easier to use.
The company is currently running off a $1.6 million round of seed funding and a small cash injection from Y Combinator. It has just begun delivering scanners to paying clients, although it still considers its technology to be in "beta" through the end of this year. Pricing details are still being worked out, but Bell says that the cost of a Matterport scanner will be "a small fraction" of the cost of a laser scanner.
SPAR Point's Pfeifle says Matterport created something no one else has yet: an industrial device based on Kinect-like technology. "This is the first time I've seen anyone come out with a product meant for commercial use and not video games," he says.
He thinks the company's biggest challenge will be simply spreading the word that it exists. "There may be problems that the scanner could solve that Matterport's people haven't even envisioned yet," he says.Matterport's early customers are mostly large companies in the construction, real estate and retail industries.
"You could scan the construction site every day, which would allow you to intervene before there are any big problems," Bell says.
For retailers with stores spread out geographically, 3D scans can provide a detailed window into the physical layout of merchandise at the store level. Real estate agents could use Matterport's scans to allow their clients to virtually visit a house.
"Panoramic photos don't let you walk around in a space the way a 3D model can," says Bell. They also don't let you see if your couch fits in the living room, as Matterport's scan does. That's one reason why Manhattan startup Lofty is using it.
"Matterport's technology blew me away," says CEO Dave Eisenberg, who hunted through many of the commercially available 3D capture options.
Lofty takes 3D models of home and office spaces and makes them usable on the web for consumers. CEO Dave Eisenberg says his team is building software to layer on top of Matterport's scanning technology: "We will beautify the 3D models, making them more user-friendly for those who aren't familiar with 3D." 

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กสท.เคาะแล้ว "ทีวีดิจิตอล" ประเทศไทย มี 48 ช่อง เป็นระบบเอชดี 5 ช่อง



พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. ในวันที่ 1 ตุลาคม มีมติสรุปช่องรายการดิจิตอลทีวีของประเทศไทย ก่อนนำเสนอต่อ กสทช.พิจารณา ในวันที่ 10 ตุลาคม โดยแบ่งเป็นช่องรายการในกลุ่ม ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่องทั่วไป 10 ช่อง และในหมวดของช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ช่องรายการ โดยในหมวดของช่องทั่วไปและเอชดี จะมีการกำหนดให้ต้องจัดรายการที่เป็นสาระประกอบอยู่เป็น 25% ของรายการทั้งหมด

พ.อ.นทีกล่าวว่า ในส่วนของการให้ใบอนุญาตในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการโครงข่าย และดิจิตอลทีวีในกลุ่มช่องบริการสาธารณะ จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคม 2556 จึงเปิดให้มีการประมูลช่องรายการในกลุ่มธุรกิจ และในกลุ่มช่องบริการชุมชนในเดือนพฤศจิกายนปี 2556 ซึ่ง กสท.ยังได้ให้คณะอนุกรรมการศึกษาในเรื่องของการกำหนดอัตราถือครองช่องรายการขั้นต่ำของผู้ประกอบการ โดยจะทำการประเมินจากศักยภาพด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ

“สำหรับส่วนราคาตั้งต้นของการประมูล ขณะนี้กำลังรอผลการศึกษาจากทีมอนุกรรมการ แม้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถรู้ผลเมื่อไร แต่คาดราคาที่ออกมาได้จะไม่สูงมากนัก เนื่องจากเราต้องการให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนไปใช้ในการสร้างเนื้อหารายการดีๆ มากกว่าเอามาใช้ลงทุนประมูล ทั้งนี้ในการศึกษาการกำหนดราคาจะใช้วิธีการประเมินมูลค่าคลื่นเช่นเดียวกับการคิดมูลค่าในกิจการโทรคมนาคม” พ.อ.นทีกล่าว

พ.อ.นทีกล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อหารายการหากผู้ประกอบการจะนำช่องรายการที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองสนับสนุนเสื้อสี หรือกลุ่มพรรคการเมือง ในเบื้องต้น กสท.สามารถอนุญาตให้ทำได้ แต่ห้ามฝ่าฝืน ม.37 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าด้วยการไม่เผยแพร่รายการที่ออกอากาศจะต้องไม่กระทบกระเทือนหรือดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ แสดงออกโดยจงใจก่อให้เกิด การเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลุ่มชนใด ลบหลู่ศาสนา ปูชนียบุคคล ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ หรือกระทบต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมอันดีงาม กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ยั่วยุกามารมณ์หรือลามกอนาจาร รวมทั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พรรคการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

10 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัวคุณ


ในปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันทันสมัยก็เริ่มกลายเป็นของใช้จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันเข้าไปทุกที ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ นาฬิกา หูฟัง หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายรูป เชื่อว่าอุปกรณ์แทบทุกชิ้นที่ยกตัวอย่างมา ทุกคนที่กำลังอ่านอยู่น่าจะมีใช้งานกัน "อย่างน้อย" คนละหนึ่งชิ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น วันนี้เราจะมาสำรวจเทคโนโลยีใกล้ตัวของเราไปพร้อม ๆ กัน เพราะอุปกรณ์ใกล้ตัวเรานี่แหละ สามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด

1. Smartphone อวัยวะลำดับที่ 33 ของทุกคน

คนแทบทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพน่าจะต้องมีโทรศัพท์มือถือเป็นของใช้ประจำกายกันแทบทุกคน แต่รู้หรือเปล่าว่าสมาร์ทโฟนในยุคนี้ทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด ปัจจุบันเราสามารถพูดคุยกับมือถือของเรา สั่งงานด้วยเสียงได้โดยที่ไม่ต้องกดปุ่ม สมาร์ทโฟนใหม่ ๆ แทบทุกรุ่นมี GPS ติดตั้งในตัว เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือนำทางได้ ล่าสุดมีการประยุกต์ใช้สมาร์ทโฟนให้กลายเป็นเครื่องมือนำทางของคนตาบอด โดยใช้ความสามารถของการสั่งงานด้วยเสียงและการระบุตำแหน่งด้วยระบบ GPS ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ เมื่อเราอยากจะตัดสินใจอะไร เราอาจจะต้องหันมาพูดคุยปรึกษากับอวัยวะลำดับที่ 33 นี้ก็เป็นได้นะ

2. Bluetooth Headset เทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ข้างใบหู

รู้หรือเปล่าว่าหูฟังชิ้นเล็ก ๆ นี้มีเทคโนโลยีมากมายที่ได้ถูกบรรจุเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการตัดเสียงรบกวนรอบข้างที่จะช่วยให้การสนทนาของเรา เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งมีเทคโนโลยีหลายรูปแบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เช่น การใช้ไมค์รับเสียงแบบพิเศษที่สามารถตรวจสอบคลื่นรบกวน เสียงลม เสียงรอบข้างที่ไม่ใช่เสียงพูดได้ หรือการใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับการขยับของกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการตัดสินใจในการตัดเสียงรบกวน นอกจากนี้หูฟังบลูทูธอย่าง Jawbone ยังสามารถลงแอพพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มความสามารถ เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานได้อีกด้วย

3. Headphone นวัตกรรมเพื่อความบันเทิง

รู้หรือเปล่าว่าเสียงคุณภาพดีที่ได้จากหูฟังแต่ละประเภทมีเทคโนโลยีระดับสูง ซ่อนอยู่มากมาย การออกแบบหูฟังตัวใหญ่ ๆ กับการออกแบบหูฟังแบบ In-Ear ก็จะใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน พื้นฐานของการออกแบบหูฟัง ก็คือการพยายามย่อขนาดส่วนประกอบต่าง ๆ ของลำโพงมาบรรจุไว้ในหูฟัง โดยรักษาระดับคุณภาพของเสียงไว้ให้ได้มากที่สุด ฉะนั้นหูฟังจึงมีหลายระดับราคา ในหูฟังราคาระดับหมื่นบาทนั้นภายในจะประกอบด้วยวงจรตัวขับที่ออกแบบอย่าง พิถีพิถัน เพื่อให้ได้เสียงร้องที่ชัดเจน เสียงเบสที่หนักแน่น ลองฟังเพลงเดิมด้วยหูฟังดี ๆ สักตัวดูสิ แล้วจะรู้ว่าความแตกต่างของคุณภาพเสียงเป็นอย่างไร

4. Watch เมื่อนาฬิกาเป็นมากกว่าเครื่องบอกเวลา

ถามว่านาฬิกาเรือนนี้ "ทำอะไรได้บ้าง?" คงจะได้คำตอบมากมายเพราะนาฬิกาในยุคที่เทคโนโลยีก้าวกระโดดแบบนี้ เพราะมักมีฟังก์ชั่นการทำงานที่นอกเหนือจากความสามารถพื้นฐานอย่างใช้จับ เวลา หรือใช้บอกเวลาทั่วโลก นาฬิกาบางรุ่นสามารถเดินได้เองโดยไม่ต้องใช้ถ่านและยังคงความเที่ยงตรงไว้ ได้สมบูรณ์ 100% ซึ่งยากที่นาฬิกาแบบออโตเมติกรุ่นก่อน ๆ จะทำได้ หรือนาฬิกาที่ใช้เป็นโทรศัพท์ นาฬิกาที่ออกแบบมาเพื่อนักดำน้ำ นักปีนเขา หรือกิจกรรมเฉพาะด้าน ลองมองดูนาฬิกาที่เราสวมอยู่สิครับว่าทำอะไรได้บ้าง? มองดูแล้วอยากจะเปลี่ยนนาฬิกากันบ้างหรือยัง?

5. Tablet เมื่อความบันเทิงพกติดตัวไปได้ทุกที่

ตั้งแต่แอปเปิลเปิดตัว iPad เราก็ได้เห็นพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในยุคดิจิตอลเปลี่ยนไปพอ สมควร และในตอนนี้ก็มีแท็บเล็ตออกมามากมายหลายรุ่นให้เลือกใช้งาน แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ? รู้หรือไม่ว่าเราสามารถเข้าไปศึกษาหรือเข้าเรียนคอร์สต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศแบบออนไลน์ได้ เราสามารถแก้ไขไฟล์เอกสารงานต่าง ๆ ได้ด้วยชุดแอพพลิเคชั่นออฟฟิศที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ อีกต่อไป และถ้าเราเป็นผู้ที่ชื่นชอบความบันเทิงรูปแบบใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้มีเกมบนแท็บเล็ตที่เราสามารถเล่นกับเพื่อน ๆ ที่ออนไลน์อยู่อีกฝั่งนึงของโลกได้แบบเรียลไทม์เลยทีเดียว


6. E-Reader เพื่อนคู่ใจหนอนหนังสือ

หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับอุปกรณ์ E-Reader อย่าง Amazon Kindle หรือ Nook อุปกรณ์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คู่ใจหนอนหนังสือยุคไอที แต่ไม่ช้าก็เร็วเจ้า E-Reader จะเข้ามาแทนที่หนังสือเกือบ 100% อย่างแน่นอน รู้หรือเปล่าว่าเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ช่วยให้เราสามารถขนหนังสือเป็นพัน ๆ เล่มติดตัวไปได้โดยมีน้ำหนักไม่ถึงหนึ่งกิโลกรัม เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลก็ให้รู้สึกในการอ่านที่ใกล้เคียงกับกระดาษอ่าน สบายตา และยังมีฟังก์ชั่นดี ๆ อย่างระบบ Note และ Bookmark ที่เราสามารถซิงค์ข้อมูลการอ่านของเราได้กับอุปกรณ์หลายตัว ทำให้สามารถอ่านหนังสือเล่มโปรดได้ทุกที่ทุกเวลาเลยล่ะ

7. Laptop เมื่อต้องพกคอมพิวเตอร์ติดตัวไปทุกที่

ไม่ว่าเราจะทำงานในสาขาอาชีพอะไร เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ดูจะเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานไปแล้ว และนับตั้งแต่วันที่แล็ปท็อปเครื่องแรกถือกำเนิดขึ้น ทำให้เราหอบหิ้วเครื่องคอมพิวเตอร์ไปได้ทุกที่ จนถึงวันนี้ก็มี Ultrabook ที่เป็นแล็ปท็อปดีไซน์บางเฉียบ มีน้ำหนักเบา พกพาสบายไม่เป็นภาระ แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพระดับเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ ๆ หรือแล็ปท็อปเครื่องหนัก ๆ ที่น่าสนใจคือแล็ปท็อปรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้มีระบบรักษาความปลอดภัยทั้งแบบสแกน นิ้วมือและแบบจดจำใบหน้า มีหน้าจอการแสดงผลที่ละเอียดและแสดงผลได้สวยงามไม่แพ้จอรุ่นใหญ่ ๆ ในอนาคตอันใกล้เราคงจะได้เห็นการรวมกันระหว่างแท็บเล็ตและแล็ปท็อปก็เป็นได้

8. Compact Camera กล้องขนาดเล็กคุณภาพเกินตัว

กล้องคอมแพคถือเป็นกล้องที่ขายดีที่สุด เพราะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ราคาไม่แพง เมื่อก่อนการใช้งานกล้องคอมแพคก็เพียงเพื่อเก็บภาพประทับใจโดยไม่ได้คาดหวัง กับคุณภาพของภาพสักเท่าไร แต่รู้หรือเปล่าว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีที่อยู่ในกล้องตัวเล็ก ๆ นี้ก้าวหน้าไปมาก กล้องคอมแพคสามารถโฟกัสใบหน้าคนได้อัตโนมัติ สามารถจดจำใบหน้าของคนที่เรารู้จัก และยังสามารถบันทึกพิกัดของสถานที่ที่เราเก็บภาพได้ด้วยระบบ GPS แถมยังสามารถส่งข้อมูลผ่าน WiFi เพื่อโอนหรือแชร์ภาพถ่ายได้ทันที และนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า Mirrorless ซึ่งเป็นกล้องตัวเล็กที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ก็ช่วยให้เราได้ภาพในระดับมืออาชีพเลยทีเดียว


9. GPS เพื่อนคู่ใจในการเดินทาง

ไลฟ์สไตล์ของคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวชอบการเดินทาง อุปกรณ์นำทางอย่าง GPS Navigator ก็คงจะเป็นอุปกรณ์คู่ใจที่ช่วยให้การเดินทางมีสีสันมากยิ่งขึ้น บางคนอาจจะใช้เพียงฟังก์ชั่นพื้นฐานเท่านั้น แต่รู้หรือเปล่าว่าอุปกรณ์ GPS ในสมัยนี้มีราคาที่ถูกลงมาก แถมมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจุด POI ที่ครอบคลุมมากขึ้น ระบบการจับสัญญาณดาวเทียมเพื่อคำนวณพิกัดที่ดียิ่งขึ้น ลูกเล่นในการบอกเส้นทาง เช่น การแสดงภาพทางร่วมทางแยกต่าง ๆ เป็นรูปภาพพร้อมแสดงช่องจราจรให้เสร็จสรรพ ป้องกันการเข้าเลนผิดช่องในเมืองใหญ่ ๆ ที่ถนนพันกันเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นของการพูดบอกเส้นทางเป็นภาษาต่าง ๆ ทั้งไทยและเทศ ไทยเหนือ ไทยอีสาน เสียงผู้ชาย เสียงผู้หญิง และลูกเล่นอีกมากมายที่จะช่วยให้การเดินทางเป็นเรื่องน่าสนุกมากยิ่งขึ้น

10. Handheld Game Console พกความสนุกไปทุกที่

ในยุคดิจิตอลที่เกมและความบันเทิงเป็นของคู่กัน เครื่องเกมแบบพกพา จึงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เครื่องเล่นเกมแบบพกพาอย่าง Nintendo DS, 3DS และ Sony PSP, Vita เป็นเครื่องเล่นเกมแบบพกพาที่อัดแน่นทั้งความบันเทิงและเทคโนโลยี แต่รู้หรือเปล่าว่าเครื่องเล่นเกมเครื่องเล็ก ๆ เหล่านี้ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อเล่น เกมออนไลน์ได้ และถึงจะมีหน้าจอเล็ก ๆ แบบนี้แต่ก็สามารถใช้ดูหนังฟังเพลงด้วยการแสดงผลภาพและเสียงที่ทำได้อย่างดี เยี่ยม นอกจากนี้ การเล่นเกมยังเพิ่มอรรถรสด้วยระบบสั่นสะเทือนในตัว สามารถเล่นเกมที่แสดงผลในแบบ 3 มิติได้ ทั้งยังมีเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง AR (Augmented Reality) ที่พลิกโฉมรูปแบบในการเล่นเกมแบบพกพาไปอย่างสิ้นเชิง ใครที่ยังไม่ไม่เคยเล่น ลองหาโอกาสไปสัมผัสกันดูนะครับ




ที่มา: TENN Magazine IT PLAZA